เนื้อหาของบทความ

 เชื่อว่าต้นปีนี้อาจจะถึงเวลาที่รถของใครหลายคนถึงเวลาจะต้องต่อภาษีประจำปี 2566 แต่ก่อนที่จะสามารถต่อภาษีทั้งภาษีรถยนต์ ภาษีรถกระบะ หรือภาษีรถจักรยานยนต์ จะต้องมีการ ต่ออายุพ.ร.บ.รถยนต์ หรือพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์เสียก่อน เพราะกฎหมายบังคับให้มีการต่อพ.ร.บ.ก่อนต่อภาษีรถประจำปี วันนี้เราจะมาอัปเดตค่าใช้จ่ายในการต่ออายุพ.ร.บ.รถปี 2566 กันค่ะ

ต่ออายุพ.ร.บ.รถยนต์ 2566 มีราคา ค่าใช้จ่ายกี่บาท

ปัจจุบันนี้การต่ออายุพ.ร.บ.รถยนต์ 2566 นั้น มีขั้นตอนที่ง่ายและสะดวกมาก เหมาะสำหรับการใช้ชีวิตของใครหลายคนที่นิยมการทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปต่อพ.ร.บ.รถยนต์ที่ขนส่ง หรือฝากต่อพ.ร.บ.รถยนต์ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือ ตรอ.ที่เราเรียกกันติดปาก พร้อมกับการต่อภาษีรถ เพราะกฎหมายบังคับให้มีการต่ออายุพ.ร.บ.ก่อนต่อภาษีประจำปี ทั้งนี้พ.ร.บ.รถยนต์ ย่อมาจาก “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์” เป็นประกันภัยภาคบังคับที่รถทุกคันต้องมี หากไม่ต่ออายุพ.ร.บ.ก็จะไม่สามารถต่อภาษีได้ คุณสามารถต่ออายุพ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์ 2566 ได้แล้วไม่เสียเวลาเดินทางออกไปไหน หรือถ้าใครที่ไม่สะดวกในการต่ออายุพ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์ก็ยังสามารถต่อพ.ร.บ.รถยนต์แบบเดิมได้ตามปกติค่ะ ทั้งนี้การต่อพ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์ 2566 นั้น อาจจะมีความแตกต่างจากการต่ออายุพ.ร.บ.รถยนต์แบบเดิมตรงที่คุณจะต้องมีสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งข้อนี้เชื่อว่าแทบจะทุกคนมีสมาร์ทโฟนที่สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้วแน่นอน ส่วนขั้นตอนการต่ออายุพ.ร.บ.ออนไลน์ มีค่าใช้จ่ายไม่แตกต่างจากการเดินทางไปต่อพ.ร.บ.รถยนต์เองอีกด้วย ทั้งนี้การบังคับให้ทำพ.ร.บ.และต่อพ.ร.บ.รถยนต์เมื่อใกล้หมดอายุนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นหลักประกันให้กับผู้ขับขี่ว่าจะได้รับสิทธิคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดยมีวงเงินคุ้มครองดังต่อไปนี้

ความคุ้มครองของพ.ร.บ.รถยนต์

1.ค่ารักษาพยาบาลตามจริงคนละไม่เกิน 80,000 บาท

2.ค่าสินไหมทดแทน กรณี สูญเสียอวัยวะ*/ทุพพลภาพอย่างถาวรหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง สูงสุดคนละ 500,000 บาท

3.ค่าสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิต สูงสุดคนละ 500,000 บาท

4.เงินชดเชยกรณีรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในสถานพยาบาล วันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน

หมายเหตุ *กรณีสูญเสียอวัยวะ เป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

พ.ร.บ.จะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่บริษัท พ.ร.บ.ได้รับคำร้องขอ โดยไม่รอการพิสูจน์ความรับผิด ดังนี้

1.ค่ารักษาพยาบาลตามจริง คนละไม่เกิน 30,000 บาท

2.ค่าเสียหายเบื้องต้น กรณีผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร   คนละไม่เกิน 35,000 บาท

3.ค่าปลงศพ ไม่เกิน 35,000 บาท

4.หากเกิดความเสียหาย หลายกรณีรวมกัน จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันแล้วไม่เกินคนละ 65,000 บาท

หมายเหตุ : กรณีผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกัน จะได้รับความคุ้มครองไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

เมื่อเห็นความสำคัญของการต่อพ.ร.บ.รถยนต์แล้ว มาดูในส่วนของค่าใช้จ่ายที่จะต้องเตรียมต่อพ.ร.บ.รถยนต์ 2566

ค่าใช้จ่ายในการต่ออายุพ.ร.บ.รถยนต์ 2566 กี่บาท

รถยนต์โดยสาร ราคา พรบ.
รถยนต์โดยสาร ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง) 600 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (รถตู้) 1,100 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 40 ที่นั่ง 3,740 บาท

 

รถกระบะ / รถบรรทุก ราคา พรบ.
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก ไม่เกิน 3 ตัน (รถกระบะ) 900 บาท
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 3 ตัน ไม่เกิน 6 ตัน 1,220 บาท
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 6 ตัน ไม่เกิน 12 ตัน 1,310 บาท
รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม ไม่เกิน 12 ตัน 1,680 บาท
รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม เกิน 12 ตัน 2,320 บาท

 

รถยนต์ประเภทอื่น ๆ ราคา พรบ.
หัวรถลากจูง 2,370 บาท
รถพ่วง 600 บาท
รถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร 90 บาท

การต่ออายุพ.ร.บ.ออนไลน์ 2566 ทำอย่างไร?

เมื่อเราได้ทราบค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายสำหรับการต่อพ.ร.บ.รถยนต์แล้ว มาดูกันในส่วนของขั้นตอนการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ ซึ่งเราจะเข้าไปต่อพ.ร.บ.รถยนต์ที่เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th และมีขั้นตอนดังนี้

1.เข้าไปที่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th

2.ทำการสมัครสมาชิก ให้คลิกลงทะเบียนสมาชิกใหม่ จากนั้นก็กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทั้งที่อยู่ปัจจุบันและที่อยู่ส่งเอกสารด้วย จากนั้นก็ใช้รหัสประจำตัวประชาชนเข้าสู่ระบบ

3.คลิกชำระภาษีประจำปี จากนั้นก็กรอกข้อมูลรถ ประเภทรถ จังหวัด และเลขทะเบียนรถ กดค้นหา จากนั้นระบบจำการแสดงรายการข้อมูลการลงทะเบียนรถของเรา จากนั้นก็กดยื่นชำระภาษีที่ช่องตารางขวาสุดได้เลย

4.เมื่อเข้าสู่หน้ายื่นชำระภาษี จะมีข้อมูล 3 ช่องปรากฎ ได้แก่ รายละเอียดรถ ข้อมูล พ.ร.บ. และรายการที่ต้องชำระ สำหรับการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ ให้ดูที่หัวข้อ ข้อข้อมูล พ.ร.บ. คลิกที่ช่องไม่มี (ซื้อผ่านระบบ) หลังจากนั้นจะมีหน้าต่างเด้งขึ้นมา ให้คลิกเลือก ต้องการซื้อ พ.ร.บ. ใหม่

5.จากนั้นกรอกข้อมูลช่องซื้อ พ.ร.บ. เพิ่ม ให้กรอกข้อมูลบริษัทประกันภัยและรายละเอียดสถานที่จัดส่งเอกสารให้ครบถ้วน

6.เลือกวิธีชำระเงิน สามารถเลือกวิธีชำระเงิน เมื่อชำระเงินแล้วจะมีใบเสร็จขึ้นเป็นหลักฐาน จากนั้นก็รอรับพ.ร.บ.ที่มาจากการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ตามที่อยู่กรอกข้อมูลไว้ได้

เราจะเห็นว่าคุณสามารถต่อภาษีรถประจำปีผ่านเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th ได้เช่นเดียวกัน แต่จะมีเงื่อนไขสำหรับรถที่สามารถยื่นต่อภาษีประจำปีออนไลน์ ดังนี้

  1. เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1), รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2), รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) และรถจักรยานยนต์ (รย.12) ที่จดทะเบียนทุกจังหวัด
  2. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถประเภท , รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ,รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปีนับจากวันจดทะเบียนครั้งแรก และรถจักรยานยนต์ ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี นับจากวัน
  3. จดทะเบียนครั้งแรก ต้องผ่านการตรวจสภาพจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ก่อนชำระภาษี
  4. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถประเภท , รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ,รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม หรือที่ไม่ต้องขอรับความเห็นชอบก่อนชำระค่าภาษีประจำปี
  5. รถที่ค้างชำระค่าภาษีประจำปี เกิน 1 ปี ต้องผ่านการตรวจสภาพจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)ก่อนชำระภาษี
  6. ไม่ใช่รถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (แก๊ส) ทุกชนิดเป็นเชื้อเพลิง
  7. เป็นรถที่มีสถานะทางทะเบียน หรือไม่ถูกระงับทะเบียนเนื่องจากค้างชำระภาษีประจำปี ติดต่อกันครบ 3 ปี
  8. ไม่ใช่รถที่ได้รับการยกเว้นค่าภาษีประจำปี
  9. ไม่ใช่รถที่ถูกอายัดทะเบียน
  10. ชำระภาษีประจำปีล่วงหน้าไม่เกิน 90 วัน ก่อนวันครบกำหนดชำระภาษี

การต่ออายุพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ 2566 มีค่าใช้จ่ายกี่บาท?

นอกจากการ ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ แล้ว ในส่วนของการต่ออายุพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ก็สามารถต่ออายุพ.ร.บ.ผ่านช่องทางออนไลน์ได้เช่นกัน และให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกับพ.ร.บ.รถยนต์แต่ แต่จะมีความแตกต่างจากการการต่ออายุพ.ร.บ.รถยนต์ตรงเบี้ยประกัน บริษัทประกัน และช่องทางออนไลน์สำหรับการต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์นั่นเอง เพราะการต่ออายุพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์จะทำกับ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัดเท่านั้น แต่ในขณะที่พ.ร.บ.รถยนต์สามารถเลือกทำกับบริษัทอื่น ๆ ได้ ทั้งนี้นอกจากจะสามารถต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ผ่านเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบกได้เช่นเดียวกับรถยนต์แล้ว ยังสามารถต่อพ.ร.บ.ได้ที่เคานเตอร์เซอร์วิส รวมไปถึงช่องทางไลน์ของบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด Line: @iRVP โดยตรงซึ่งมีความสะดวก ง่ายรวดเร็ว รอรับกรมธรรม์ที่บ้านได้เลย โดยมีขั้นตอนการต่ออายุพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ผ่านช่องทาง Line: @iRVP ดังนี้

  1. เพิ่มเพื่อน โดยการแอดไลน์ @iRVP
  2. คลิกไปที่เมนู “ซื้อพ.ร.บ.”  กดที่ภาพ ซื้อพ.ร.บ.ที่แสดงบนหน้าจอ
  3. กดเลือกขนาดเครื่องยนต์ของรถจักรยานยนต์   หน้าจอมือถือจะแสดงรายละเอียดความคุ้มครอง เลื่อนหน้าจอลงด้านล่าง กด “ซื้อ พ.ร.บ.”
  4. ลงทะเบียน รายละเอียดผู้ซื้อ รายละเอียดรถจักรยานยนต์ กด ถัดไป จนถึงหน้ายืนยันข้อมูล ตรวจสอบความถูกต้องแล้ว กด ยืนยันข้อมูล
  5. เลือก วิธีชำระเงิน และชำระเงิน
  6. ตรวจสอบความคุ้มครอง กดที่เมนู “พ.ร.บ.ของฉัน” หากการลงทะเบียนนั้นมีเลขบัตรประชาชนตรงกับที่เคยทำ พ.ร.บ. กับบริษัทกลางฯ ไว้ ระบบจะแสดงข้อมูลกรมธรรม์ที่เป็นปัจจุบัน โดยอัติโนมัติ
  7. เอกสารกรมธรรม์ จะถูกส่งไปทางเมลที่ลูกค้าลงทะเบียนไว้

สำหรับผู้ที่เคยลงทะเบียนผ่านไลน์ @iRVP สามารถตรวจสอบระยะเวลาความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ได้ที่เมนู พ.ร.บ.ของฉัน หรือ หากผู้เอาประกันภัยยังไม่เคยลงทะเบียนผ่านไลน์ ให้ทำการ เพิ่มเพื่อน โดยค้นหาไอดีไลน์ @iRVP เพื่อลงทะเบียน เมื่อยืนยันตัวตน จะสามารถตรวจสอบความคุ้มครองได้ที่เมนู พ.ร.บ. ของฉัน หรือสามารถปริ้นเอกสารกรมธรรม์เพื่อนำไปต่อภาษีประจำปี หรือเก็บเป็นหลักฐานได้โดยจะส่งเป็นเอกสารกรมธรรม์ทางอีเมล์ที่ลงทะเบียนไว้แต่จะไม่มีการส่งเอกสารกรมธรรม์ทางไปรษณีย์

การต่ออายุพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ 2566 มีค่าใช้จ่ายกี่บาท

อัตราค่าเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ จะแบ่งตามประเภทของรถ โดยแต่ขนาดซี.ซี.ของรถก็จะมีอัตราของเบี้ยที่แตกต่างกัน ส่วนรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าก็แยกเป็นอีกราคาหนึ่ง ตามที่กฎหมายกำหนดมีราคาดังต่อไปนี้

  1. รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล

ไม่เกิน 75 ซี.ซี. 161.57 บาท

เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี.  323.14 บาท

เกิน 125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี.430.14 บาท

เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป 645.21 บาท

รถจักรยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า 323.14 บาท

  1. รถจักรยานยนต์รับจ้าง / ให้เช่า / สาธารณะ

ไม่เกิน 75 ซี.ซี. 161.57 บาท

เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี.  376.64 บาท

เกิน 125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี. 376.64 บาท       

เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป 645.21 บาท   

รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ให้เช่า/รับจ้าง 376.64 บาท

รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าสาธารณะ 376.64 บาท

แต่หากมีการทำพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ระยะยาว 3 ปี 4 ปี หรือ 5 ปี จะได้รับส่วนลดกรมธรรม์ แต่ละช่วงเวลาของกรมธรรม์ไม่เท่ากัน ดังนี้ กรมธรรม์ที่คุ้มครอง 3 ปี จะได้ส่วนลด  50  กรมธรรม์ที่คุ้มครอง 4 ปี จะได้ส่วนลด 75  บาท กรมธรรม์ที่คุ้มครอง 5 ปี จะได้ส่วนลด 100 บาท โดยมีอัตราค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ระยะยาวดังนี้

รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล 3 ปี 4 ปี 5 ปี
ไม่เกิน 75 ซี.ซี. 430.14 บาท 564.96 บาท 698.71 บาท
เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี. 913.78 บาท 1,209.10 บาท 1,504.56 บาท
เกิน 125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี. 1,235.85 บาท 1,639.24 บาท 1,639.24 บาท
เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป 1,879.99 บาท 2,498.45 บาท 3,115.84 บาท
รถจักรยานยนต์รับจ้าง/ให้เช่า/สาธารณะ
เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี. 1,074.28 บาท 1,424.17 บาท 1,772.99 บาท
หมายเหตุ: การรับประกันภัยในช่วงระยะเวลาที่เกิน 3 ปี แต่ไม่ถึง 4 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยแบบเฉลี่ยรายวัน

วิธีการเบิกพ.ร.บ.มีขั้นตอนอย่างไร

จะเห็นว่าความคุ้มครองของพ.ร.บ.นั้นมีประโยชน์ต่อผู้ขับขี่ไม่น้อย อย่างน้อยในส่วนของค่ารักษาพยาบาล รวมไปถึงหากเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ก็ยังได้รับเงินชดเชยจากการทำพ.ร.บ.นี้อีกด้วย โดยวิธีการเบิกพ.ร.บ.มีขั้นตอนดังนี้

1.เตรียมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่มีชื่อในหลักฐานว่าเป็นผู้ประสบภัย

2.ใบเสร็จเงินค่ารักษาพยาบาล

เบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยใน

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
  2. ใบแจ้งหนี้ค่ารักษาพยาบาล หรือใบสรุปหน้างบ หรือหนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในจากโรงพยาบาล

กรณีทุพพลภาพถาวร หรือสูญเสียอวัยวะ

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
  2. ใบรับรองแพทย์หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายเพราะประสบภัยจากรถ และหลักฐานรับรองแสดงถึงการสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร เช่น หนังสือรับรองความพิการ
  3. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน

กรณีเสียชีวิต

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
  2. ใบมรณบัตร
  3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาทและบัตรประจำตัวประชาชนของทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย
  4. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน และ/หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ความตายเพราะประสบภัยจากรถ

การจ่ายค่าเสียหายของบริษัทประกันภัย จะจ่ายให้กับผู้เสียหายที่แท้จริงเท่านั้นแต่หากมีการมอบอำนาจให้ผู้อื่นมากระทำการแทนก็สามารถทำได้ โดยแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจมาด้วย แต่หากผู้ประสบภัยเสียชีวิต บริษัทประกันภัยจะจ่ายเช็คให้กับทายาทโดยธรรมตามกฎหมายเท่านั้น

ทั้งนี้จะเห็นว่า พ.ร.บ. คือการทำประกันรถยนต์ชนิดหนึ่งซึ่งถือเป็นการทำประกันรถยนต์ภาคบังคับ ทำให้รถทุกคันที่ต่อพ.ร.บ.จะได้รับความคุ้มครองไม่ว่าบุคคลคนนั้นจะเป็น คนขับ ผู้โดยสาร หรือบุคคลภายนอก ก็สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ดังนั้นจึงสามารถตอบคำถามที่ว่า ไม่ใช่เจ้าของรถเบิกพ.ร.บ.ได้ไหม ?

ไม่ใช่เจ้าของรถเบิกพ.ร.บ.ได้ไหม?

คำตอบคือ ไม่ใช่เจ้าของรถเบิกพ.ร.บ.ได้ เพราะ พ.ร.บ.คือหลักประกันให้กับผู้ขับขี่ว่าจะได้รับสิทธิคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคนขับ ผู้โดยสาร บุคคลภายนอก หรือคนเดินเท้า ก็สามารถเบิกพ.ร.บในส่วนของค่ารักษาพยาบาล และเงินชดเชยต่าง ๆ ได้ 

ไม่ต่อพ.ร.บ.รถได้หรือไม่

หากไม่ต่อพ.ร.บ.มีโทษตามกฎหมาย เพราะกฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำและหากพ.ร.บ.หมดอายุก็จะไม่สามารถต่อภาษีประจำปีได้ และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกตรวจระหว่างที่ใช้รถ โดยโทษปรับจากการขาดต่อพ.ร.บ.รถไม่เกิน 10,000บาท

ขาด ต่ออายุพ.ร.บ.รถยนต์ หลายปี ต่อใหม่ได้หรือไม่?

รถบางคันที่อาจจะไม่ได้ใช้งานเป็นประจำ นาน ๆ ใช้ที หรือ จอดทิ้งไว้ไม่ได้นำมาใช้เลย อาจจะละเลยในการต่อพ.ร.บ.รถยนต์หรือพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ทั้งนี้เมื่อนำรถคันนั้นกลับมาใช้ใหม่ หรือจะต้องขายรถออก จะต้องกลับมาต่อพ.ร.บ.และต่อภาษีรถให้เรียบร้อยเสียก่อน แต่หากขาดการต่อพ.ร.บ.รถมานาน จะยังสามารถต่ออายุพ.ร.บ.รถใหม่ได้อีกหรือไม่ เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ

ขาดต่อพ.ร.บ.รถยนต์/รถจักรยานยนต์ 1 ปีขึ้นไป

ดำเนินการต่อพ.ร.บ.รถได้เลย แต่จะมีค่าปรับในส่วนของภาษีรถ

ขาดต่อพ.ร.บ.รถยนต์/รถจักรยานยนต์ 2 ปีขึ้นไป

นำรถไปตรวจเช็คสภาพรถยนต์ที่ขนส่ง เพื่อดำเนินการต่อภาษีและจ่ายค่าปรับ โดยเอกสารที่ต้องใช้ ได้แก่  สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ สมุดทะเบียนรถ และทะเบียนบ้านเจ้าของรถ  

ขาดต่อพ.ร.บ.รถยนต์/รถจักรยานยนต์ 3 ปีขึ้นไป

ต้องมีการจดทะเบียนรถใหม่ เพราะมีโอกาสที่รถถูกระงับป้ายทะเบียน โดยจะมีการเสียค่าปรับ จ่ายภาษีย้อนหลัง สำหรับเอกสารที่ต้องใช้ ได้แก่  สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ สมุดทะเบียนรถ และทะเบียนบ้านเจ้าของรถ  

การ ต่ออายุพ.ร.บ.รถยนต์  หรือ รถจักรยานยนต์ มีความสำคัญกับผู้ขับขี่เป็นอย่างมาก อย่าปล่อยให้พ.ร.บ.รถของคุณขาดจึงจะดีที่สุด เพราะนั่นหมายถึงความคุ้มครองที่คุณจะได้รับหากเกิดอุบัติเหตบนท้องถนน ไม่ว่าคุณจะเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิดก็ตาม ยังไงแล้วพ.ร.บ.รถก็ยังคุ้มครอบคุณอยู่ตราบใดที่พ.ร.บ.รถของคุณไม่ขาดนั่นเอง ทั้งนี้พ.ร.บ.รถจะให้ความคุ้มครองแต่คนเท่านั้น ในส่วนของรถและความเสียหายต่าง ๆ พ.ร.บ.จะไม่ได้คุ้มครอง หากคุณต้องการความคุ้มครองที่มากกว่า แนะนำซื้อประกันรถเพิ่มเติมได้ เพราะให้ความคุ้มครองทั้งคน รถ และความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ครอบคลุมมากกว่าอีกด้วย แต่ถึงอย่างไรแล้วการทำพ.ร.บ.ก็ยังต้องทำอยู่เช่นเดิม หากสนใจทำประกันรถที่เฮงลิสซิ่งให้บริการประกันภัยรถยนต์เช่นเดียวกัน มีให้เลือกทั้งประกันรถยนต์ชั้น 1 2+ 3+ รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก